webmaster@tsri.or.th | tsri@saraban.mail.go.th (ส่งหนังสือราชการ)
ข้อจำกัดสำคัญของการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมในอดีตที่ผ่านมา คือ การไม่เป็นเอกภาพของระบบ กระจัดกระจายและความซ้ำซ้อน รวมถึงความไม่เชื่อมโยงในเชิงนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่ตั้งอยู่ในหน่วยงานภาครัฐหลายแหล่ง ทั้งในระดับกระทรวง ทบวง กรม และสำนัก รวมถึงการขาดความเชื่อมโยงของนโยบายและการสนับสนุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมกับภาคผู้ผลิตการค้าและบริการ หรือผู้ใช้ประโยชน์จากการวิจัยและนวัตกรรม ส่งผลให้ผลผลิตจากการวิจัยและนวัตกรรมจำนวนไม่น้อยมีได้ถูกนำไปต่อยอดในเชิงมูลค่าทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม
การปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จึงมีเป้าหมายสำคัญ คือ การนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาใช้ประโยชน์และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ และเกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศบนฐานขององค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม ตาม พ.ร.บ.สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ที่ถือได้ว่าเป็นกฎหมายหลักของการขับเคลื่อนระบบ ววน. ของประเทศ อันครอบคลุมตั้งแต่ด้านความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกมิติ ที่จำเป็นจะต้องใช้ความรู้และนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือการปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีโครงสร้างของระบบ ววน. ดังนี้
(มาตรา 11 พ.ร.บ. สภานโยบาย)
(1) เสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ
(2) พิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวง และงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ก่อนที่สำนักงบประมาณจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนตาม (1) ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
(3) กำกับให้คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คณะกรรมการการอุดมศึกษาและคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงกาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ดำเนินงานให้เป็นไปในทิศทางที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนตาม (1)
(4) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการเร่งรัดและติดตามให้มีการเสนอหรือการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก เชื่อมโยงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนและภาครัฐ และสามารถพัฒนาและแก้ไขปัญหาของชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
(5) เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีการกำหนดมาตรการและแรงจูงใจทางการเงินการคลังและสิทธิประโยชน์อื่นส าหรับการระดมทุน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(6) จัดให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านการอุดมศึกษา รวมทั้งแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
(7) กำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทำฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูลมาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการบูรณาการและการเชื่อมโยงกันระหว่างฐานข้อมูลดังกล่าว และประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชน
(8) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง คณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานตามที่สภานโยบายมอบหมายหรือมอบให้ทำการแทน และรายงานให้สภานโยบายทราบ
(9) ออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น
(10) เสนอรายงานประจำปีเกี่ยวกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา
(11) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(มาตรา 22 พ.ร.บ. สภานโยบาย)
(1) รับผิดชอบงานวิชาการและงานธุรการ รวมถึงสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้การปฏิบัติหน้าที่ของสภานโยบาย คณะกรรมการ คณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง และคณะอนุกรรมการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) เสนอความเห็นต่อสภานโยบายเกี่ยวกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนด้านการอุดมศึกษา และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่น รวมทั้งนโยบายของรัฐบาล
(3) เสนอความเห็นต่อสภานโยบายเกี่ยวกับกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านการอุดมศึกษา และด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนตามมาตรา 11 (1)
(4) เสนอความเห็นต่อสภานโยบายเกี่ยวกับการเร่งรัดและติดตามให้มีการเสนอหรือการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(5) สนับสนุนการดำเนินการ การติดตามและประเมินผลของคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องตามมาตรา 18
(6) ประสานงานให้มีการจัดทำ บูรณาการ และเชื่อมโยงฐานข้อมูลการอุดมศึกษา ฐานข้อมูล มาตรฐานการอุดมศึกษา และฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบาย ทิศทาง และการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาการอุดมศึกษา และการวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลและผลการวิเคราะห์ สังเคราะห์ต่อสาธารณชนตามประกาศตามมาตรา 11 (7)
(7) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
(8) จัดทำรายงานประจำปีของสภานโยบายตามมาตรา 11 (10)
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่น หรือตามที่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สภานโยบาย หรือคณะกรรมการอำนวยการ สอวช. มอบหมาย
(มาตรา 41 พ.ร.บ. สภานโยบาย)
(1) เสนอแนะต่อสภานโยบายในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และแผนอื่นตามมาตรา 11 (1)
(2) เสนอแนะกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศต่อสภานโยบาย รวมทั้งเสนอระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ ตามกรอบวงเงินดังกล่าว ให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนตามมาตรา 11 (1)
(3) ให้คำแนะนำในการพิจารณาคำของบประมาณของกองทุนแก่คณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 12 (2)
(4) กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำคำของบประมาณและการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม
(5) เสนอต่อนายกรัฐมนตรีในการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 12 (2)
(6) บริหารกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 54 ให้เป็นไปตามระเบียบที่สภานโยบายกำหนด
(7) พิจารณาคำของบประมาณและจัดสรรงบประมาณจากกองทุนให้แก่หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศและหลักเกณฑ์ตาม (4)
(8) กำหนดทิศทางและแนวทางการด าเนินงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศตามมาตรา 11 (1)
(9) กำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงและแก้ไขระบบหรือกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพ มีมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(10) กำหนดมาตรฐานการวิจัยและจริยธรรมการวิจัยโดยความเห็นชอบของสภานโยบาย กำหนดข้อกำหนดหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และกำกับดูแล ติดตาม และส่งเสริมให้เป็นไปตามมาตรฐานจริยธรรม และข้อกำหนดหรือแนวปฏิบัตินั้น
(11) ส่งเสริมและสนับสนุนการท างานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศในด้านการวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดวิทยาการหรือเทคโนโลยี รวมถึงเสนอแนะต่อสภานโยบายเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในการกำหนดมาตรการ สิทธิประโยชน์ และแรงจูงใจ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเกิดผลเป็นรูปธรรม
(12) กำหนดหลักเกณฑ์การให้รางวัลผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการประเมินและพิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจ สังคม และวิชาการของประเทศ และหลักเกณฑ์การประกาศเกียรติคุณหรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานที่มีผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง
(13) กำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทำและการดำเนินการตามแผนด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ รวมทั้งติดตาม ประเมินผลการใช้งบประมาณของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เป็นไปตามแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศตามมาตรา 11 (1)
(14) กำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทำฐานข้อมูลการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
(15) มอบหมายให้คณะอนุกรรมการ คณะบุคคล หรือบุคคลปฏิบัติงานตามที่ กสว. มอบหมาย
(16) ออกระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับมติของสภานโยบาย
(17) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น หรือตามที่คณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
(มาตรา 44 พ.ร.บ. สภานโยบาย)
(1) รับผิดชอบงานวิชาการและงานธุรการ รวมถึงสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้การปฏิบัติหน้าที่ของ กสว. และคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 12 (2) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ภาพรวมในด้านการวิจัยและนวัตกรรมในระดับชาติและนานาชาติ เพื่อนำเสนอต่อสภานโยบายในการกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผน รวมทั้งงบประมาณเพื่อการวิจัยและนวัตกรรม
(3) จัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เสนอต่อ กสว.
(4) จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เสนอต่อ กสว.
(5) จัดทำคำของบประมาณของกองทุนเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมตามมาตรา 12 (2)
(6) จัดทำหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดทำคำของบประมาณและการจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม เสนอต่อ กสว.
(7) กลั่นกรองคำของบประมาณของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และหลักเกณฑ์ตามมาตรา 41 (4)
(8) จัดทำข้อเสนอ และริเริ่มโครงการวิจัยและนวัตกรรมที่สำคัญของประเทศที่ต้องดำเนินการของหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน รวมทั้งขับเคลื่อนและประสานการดำเนินงานดังกล่าวให้สัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม
(9) เสนอความเห็นต่อ กสว. เกี่ยวกับทิศทางและแนวทางการดำเนินงานของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม
(10) เสนอความเห็นต่อ กสว. เกี่ยวกับการกำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการปรับปรุงและแก้ไขระบบหรือกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรม
(11) เสนอความเห็นต่อ กสว. เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศในด้านการวิจัยและนวัตกรรม การถ่ายทอดวิทยาการหรือเทคโนโลยี รวมทั้งจัดทำและเสนอมาตรการ สิทธิประโยชน์ และแรงจูงใจ เพื่อส่งเสริมการดำเนินการดังกล่าว
(12) เสนอความเห็นต่อ กสว. เกี่ยวกับการกำกับ เร่งรัด และติดตามให้มีการจัดทำและการดำเนินการตามแผนด้านการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ รวมถึงการกำกับ เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลการใช้งบประมาณของหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม
(13) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนวัตกรรม และการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของ กสว. และกองทุน
(14) จัดทำรายงานประจำปีของ กสว. และกองทุน เสนอต่อนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และสภานโยบาย
(15) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สภานโยบาย หรือ กสว. มอบหมาย
(มาตรา 54 พ.ร.บ. สภานโยบาย)
เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบการวิจัยและนวัตกรรมของประเทศด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ เพื่อสร้างองค์ความรู้ พัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ด้วย
(1) ส่งเสริมการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการของประเทศ
(2) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพ และปัจจัยเอื้อที่สนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม
(3) ส่งเสริมให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของประเทศหรือโครงการลงทุนที่รัฐเห็นสมควรกำหนด เป็นกลไกของการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
(4) สนับสนุนการเพิ่มสมรรถนะในการเลือก การรับ การถ่ายทอด และการร่วมมือกับบุคคลหรือหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อให้ได้วิทยาการและเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเหมาะสม
(5) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม หน่วยงานอื่นของรัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการน าผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการพัฒนาระดับชุมชนและพื้นที่
(6) บุกเบิกการวิจัยขั้นแนวหน้าและการสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยมีพันธกิจและวงรอบการทำงานดังนี้
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศอย่างเป็นเอกภาพ โดยมุ่งเน้นการบูรณาการสหสาขาวิชา รวมถึงเป็นเครื่องมือในการทำงานร่วมกันของหน่วยงานทั้งในและนอกกระทรวง เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาโจทย์ท้าทายของประเทศในทุกมิติและเตรียมการสู่อนาคต
อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงแต่ความก้าวหน้าของวิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนแบบแผนการใช้ชีวิตและกระบวนการทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้คน ซึ่งส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง จึงต้องมีการปรับปรุงแผนให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงกับแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง นโยบาย มติ และข้อสั่งการที่สำคัญของรัฐบาลและภาคนโยบาย
ปัจจุบันมีแผนด้าน ววน. ทั้งสิ้น 2 ฉบับ ประกอบด้วย แผนด้าน ววน. ฉบับปี พ.ศ. 2563-2565 และ แผนด้าน ววน. ฉบับปี พ.ศ. 2566-2570 โดยมีการปรับปรุงแผน (rolling plan) รายปี เพื่อปรับจุดมุ่งเน้น เป้าหมายและตัวชี้วัด เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) ของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 จัดทำขึ้นโดยใช้แนวทางตามกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2566 – 2570 กำหนดและกำกับทิศทางในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งเน้นหลักการเชิงนโยบายที่เป็นการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ (Take a Giant S tep) ของประทศ มีธงบอกทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน เก่งในบางเรื่องที่สำคัญ เน้นการใช้การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและวัตกรรม เป็นเครื่องมือในการพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตและบริการ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการพึ่งพตนเองอย่างยั่งยืน บูรณาการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ข้ามศาสตร์ ข้ามกระทรวง และการพลิกโฉมที่ระบบ (System-based Transformations) ที่สำคัญ
โดยให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพเพียงพอในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง พร้อมรองรับความท้าทายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ โดยมุ่งเน้นให้คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจไทยมีความสามรถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และพึ่งพาตนเองได้ยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต และสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม ปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีจุดมุ่งเน้นของนโยบาย (Flagship) ดังนี้
โครงสร้างแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566-2570
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) ของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 มีโครงสร้างประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 25 แผนงาน 54 แผนงานย่อยรายประเด็น และ 14 แผนงานสำคัญตามจุดมุ่งเน้นของนโยบาย (Flagship) โดยทุกระดับจะมีเป้าหมายและตัวชี้วัดสำคัญระดับผลลัพธ์ (Objectives and Key Results, OKRs) เพื่อระบุขนาดและทิศทางของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ และของแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566-2570
วิสัยทัศน์ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) ของประเทศ พ.ศ. 2566-2570 คือ “พลิกโฉมประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และพร้อมสำหรับโลกอนาคต โดยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับคุณภาพชีวิต และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างมูลค่าและคุณค่า ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย โดยการสานพลังหน่วยงานในระบบ ววน. รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม”
เป้าประสงค์ของแผนด้าน ววน. ประกอบด้วย
ยุทธศาสตร์และแผนงานภายใต้แผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566-2570
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) ของประเทศ พ.ศ. 2566 – 2570 มีโครงสร้างประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 25 แผนงาน โดยมีแผนงาน และหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit, PMU) ที่รับผิดชอบดังนี้
ยุทธศาสตร์/แผนงาน | PMU ที่รับผิดชอบ |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม | บพข. สวก. สนช. สวรส. NVI TCELS |
P1 (S1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการแพทย์และสุขภาพ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ | สวรส. NVI TCELS |
P2 (S1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านเกษตรและอาหารให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ | บพข. สวก. สนช. |
P3 (S1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการท่องเที่ยวให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ | บพข. |
P4 (S1) พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน วัสดุชีวภาพ และเคมีชีวภาพให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ | บพข. สนช. |
P5 (S1) พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ปัญญาประดิษฐ์ อิเล็กทรอนิคอัจฉริยะ รวมทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การบริการและการพึ่งพาตนเอง | บพข. สนช. |
P6 (S1) พัฒนาระบบโลจิสติกส์และระบบรางของประเทศให้ทันสมัยได้มาตรฐานสากล แข่งขันได้ และเชื่อมต่อกับเครือข่ายรองรับระบบเศรษฐกิจนวัตกรรมในภูมิภาคอาเซียน | บพข. สนช. |
P7 (S1) พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การประกอบแบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญ ตลอดจนเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง | บพข. |
P8 (S1) พัฒนาธุรกิจฐานนวัตกรรมขนาดใหญ่ (IDEs) เพื่อ ยกระดับรายได้ ความสามารถในการแข่งขัน และการพึ่งพาตนเองของประเทศ | บพข. สนช. |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 (S2) การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม | วช. บพท. สวก. สนช. สวรส. TCELS |
P9 (S2) พัฒนาสังคมสูงวัยด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | วช. |
P10 (S2) ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมรับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ | สวรส. TCELS |
P11 (S2) ขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ โดยการเพิ่มโอกาส และยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ | บพท. วช. |
P12 (S2) พัฒนานโยบายและต้นแบบสำหรับสังคมคุณธรรม การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล โดยใช้ผลการวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม | วช. |
P13 (S2) พัฒนาเมืองน่าอยู่ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาชุมชน/ท้องถิ่น และกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมสู่ทุกภูมิภาค โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพท. สนช. |
P14 (S2) พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อสร้างสังคมไทยไร้ความรุนแรง ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งสวัสดิภาพสาธารณะ โดยใช้ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม | วช. |
P15 (S2) พัฒนาและเร่งแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการบริโภคอย่างยั่งยืนและการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม | วช. สวก. |
P16 (S2) พัฒนานโยบายและต้นแบบเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม | วช. สวก. |
P17 (S2) พัฒนาและประยุกต์ใช้มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์เพื่อส่งเสริมคุณค่าและความงอกงามของศิลปะและวัฒนธรรมให้เป็นทุนสำคัญในการพัฒนาประเทศให้เป็นอารยะอย่างยั่งยืน และปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลง | วช. |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 (S3) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต | บพค. บพข. |
P18 (S3) พัฒนาการวิจัยขั้นแนวหน้าที่สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ รวมทั้งการนำผลการวิจัยขั้นแนวหน้าไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดสู่เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมขั้นแนวหน้า | บพค. |
P19 (S3) พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคตและบริการแห่งอนาคต รวมทั้งอุตสาหกรรมอวกาศ | บพค. |
P20 (S3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพของประเทศ ที่รองรับการวิจัยขั้นแนวหน้าและการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อนาคต | บพค. บพข. |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 (S4) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม | บพค. วช. บพข. |
P21 (S4) ยกระดับการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา กำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนวัตกร ที่มีทักษะสูง ให้มีจำนวนมากขึ้น | วช. บพค. |
P22 (S4) พัฒนาและยกระดับสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ตอบโจทย์เป้าหมายของประเทศอย่างชัดเจนและสามารถเทียบเคียงระดับนานาชาติ | บพค. |
P23 (S4) พัฒนาการเป็นศูนย์กลางกำลังคนระดับสูงของอาเซียนและศูนย์กลางการเรียนรู้ของอาเซียนที่มีความร่วมมือด้านการวิจัย การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของสถาบัน/ศูนย์วิจัยกับเครือข่ายระดับนานาชาติอย่างเข็มแข็งในวงกว้าง | บพค. วช. บพข. |
แผนงานข้ามยุทธศาสตร์ (Cross-cutting platform) | |
P24 แก้ไขปัญหาและตอบสนองภาวะวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ | |
P25 พัฒนาความเข้มแข็งและประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และขับเคลื่อนการดำเนินงานของแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566 – 2570 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2566-2570
ผลกระทบในภาพรวม (ภายในปี พ.ศ. 2570) ได้แก่
ผลสัมฤทธิ์ (Output & Outcome) ภายในปี พ.ศ. 2570 รายยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยฯ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 2 (S2) การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมฯ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 3 (S3) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าฯ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 4 (S4) การพัฒนากำลังคนและสถาบันด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้แก่
แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (แผนด้าน ววน.) พ.ศ. 2563-2565 มีความเชื่อมโยงกับนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาระบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ที่สอดคล้องกับทิศทางของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาล ขับเคลื่อนการดำเนินงานในลักษณะแพลตฟอร์ม (Platform) ความร่วมมือตามเป้าประสงค์ของการพัฒนาใน 4 ด้าน ได้แก่ แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคนและสถาบันความรู้ แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม แพลตฟอร์มที่ 3 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และ แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ โดยดำเนินงานควบคู่ไปกับการปฏิรูประบบอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ผ่านกลไกการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objectives and Key Results: OKR) และ 16 ชุดโปรแกรมภายใต้แพลตฟอร์ม
อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2562 จนถึงปัจจุบัน จึงได้มีการปรับแผนด้าน ววน. เป็น แผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ฉบับปรับปรุงสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยยังคงโครงสร้างของ 4 แพลตฟอร์ม 16 โปรแกรมจากแผนฉบับเดิม และเพิ่มเติม โปรแกรมที่ 17 แก้ปัญหาวิกฤติเร่งด่วนของประเทศ โดยหารือร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อร่วมกันออกแบบกระบวนการทำงานเชิงระบบสำหรับโปรแกรมที่ 17 รวมถึงวิเคราะห์ศักยภาพของหน่วยงานและห่วงโซ่อุปทาน โดยนำกรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) เข้ามาเป็นกรอบการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดของ 4 แพลตฟอร์ม 17 โปรแกรม ดังนี้
สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้มีการปรับปรุงแผนเป็น แผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 ฉบับปรับปรุง สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งยังคงใช้โครงสร้างของแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563-2565 และมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด (4 แพลตฟอร์ม 17 โปรแกรม) มีการกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Objective Key Results: OKRs) ให้สามารถวัดและประเมินผลได้ ปรับปรุงภาษาให้มีความชัดเจน และมีจุดเน้นโดยนำนโยบายการพัฒนาประเทศและนโยบายของรัฐบาลที่ตอบบริบทที่เปลี่ยนแปลงมาบูรณาการในแผนด้าน ววน.โดยทบทวนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะกิจจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564-2565 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ของแผนและเป็นกรอบการจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ต่อไป โดยมีรายละเอียด แพลตฟอร์ม โปรแกรม และ PMU ที่รับผิดชอบดังนี้
แพลตฟอร์ม/โปรแกรม | PMU ที่รับผิดชอบ |
แพลตฟอร์มที่ 1 การพัฒนากำลังคน ยกระดับสถาบันความรู้ และระบบนิเวศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพค. วช. |
โปรแกรมที่ 1 สร้างและผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพค. |
โปรแกรมที่ 2 ผลิตกำลังคนระดับสูงรองรับพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่นวัตกรรม เช่น เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) | บพค. |
โปรแกรมที่ 3 ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างกำลังคนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงเพื่อการสร้างบัณฑิต การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดช่วงชีวิต การพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Up-skill) และ การเพิ่มทักษะ (Re-skill) | บพค. |
โปรแกรมที่ 4 ส่งเสริมปัญญาประดิษฐ์เป็นฐานขับเคลื่อนประเทศในอนาคต (AI for All) | บพค. |
โปรแกรมที่ 5 ส่งเสริมการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ | บพค. วช. |
โปรแกรมที่ 6 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการวิจัยที่สำคัญ
| บพค. |
แพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม | วช. สวก. สวรส. |
โปรแกรมที่ 7 แก้ไขปัญหาท้าทายและยกระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการเกษตร | วช. สวก. |
โปรแกรมที่ 8 รองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ | วช. สวรส. |
โปรแกรมที่ 9 แก้ไขปัญหาท้าทายและยกระดับการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านสังคมและความมั่นคงทุกมิติ
| วช. สวรส. |
แพลตฟอร์มที่ 3 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งยกระดับการพึ่งพาตนเองในระดับประเทศ | บพข. สวก. สวรส. สนช. |
โปรแกรมที่ 10 ยกระดับความสามารถการแข่งขันและวางรากฐานทางเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งพาตนเองในระดับประเทศ
| บพข. สวก. สวรส. |
โปรแกรมที่ 11 สร้างและยกระดับศักยภาพวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม พัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม และพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรม/ระเบียงเศรษฐกิจ | สนช. |
โปรแกรมที่ 12 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพและบริการ (NQI) สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายและภาคบริการที่สำคัญของประเทศ | บพข. |
แพลตฟอร์มที่ 4 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่และลดความเหลื่อมล้ำ | บพท. สนช. |
โปรแกรมที่ 13 พัฒนานวัตกรรมสำหรับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนนวัตกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพท. สนช. |
โปรแกรมที่ 14 ขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพท. |
โปรแกรมที่ 15 การพัฒนาเมืองน่าอยู่และการกระจายศูนย์กลางความเจริญโดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพท. สนช. |
Cross-cutting platform | |
โปรแกรมที่ 16 การปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม | บพค. บพข. วช. |
โปรแกรมที่ 17 การแก้ปัญหาวิกฤตเร่งด่วนของประเทศ | วช. สวรส. บพค. บพท. |
กลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนระบบ ววน. ของประเทศ คือ ระบบการบริหารงบประมาณด้าน ววน. ของประเทศ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นำเอากลไกการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ (Policy Deployment) และการจัดสรรทรัพยากร (Budget Allocation) มารวมไว้ด้วยกัน โดยมีกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นศูนย์รวมในการจัดสรรและบริหารงบประมาณด้าน ววน. และทำให้สอดคล้องกับแผนด้าน ววน. ของประเทศ ดังนั้น แผนซึ่งเป็นทิศทาง และงบประมาณซึ่งเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนไปตามทิศทาง จะส่งผลหนุนเสริมกันให้ไปสู่เป้าหมายคือผลลัพธ์ ผลกระทบในการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญอย่างมากกับ “หลักประสิทธิภาพ” ของหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit, PMU) และหน่วยรับงบประมาณ ที่จะใช้งบประมาณและส่งมอบงานได้ตามแผน อีกทั้งส่งมอบผลลัพธ์ผลกระทบที่กำหนดไว้ตามแผน
กระบวนการงบประมาณตามกฎหมาย
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่จะของบประมาณจัดทำคำของบประมาณได้แก่
มาตรา 17 (1) คำของบประมาณรายจ่ายประจำและรายจ่ายตามภารกิจของหน่วยงานที่มิใช่โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรม ให้เสนอต่อสำนักงบประมาณได้โดยตรง และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมแต่ละหน่วย
มาตรา 17 (2) คำของบประมาณเพื่อโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และโครงการวิจัยและนวัตกรรม ให้เสนอต่อ กสว. ตามหลักเกณฑ์ที่ กสว. กำหนด และให้ กสว. พิจารณาคำขอและผลการดำเนินการของหน่วยงานแต่ละหน่วยในปีที่ผ่านมาประกอบการจัดสรรเงินกองทุนให้เป็นงบประมาณของหน่วยงานนั้น
การเสนองบประมาณสนับสนุนวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมหรืองบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. อาจกล่าวได้ว่าจะมีการดำเนินงาน 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 เป็นการเสนอกรอบงบประมาณ ที่แสดงหลักคิดเรื่องความสำคัญของการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศ (เงิน RDI) ที่เป็นหลักการสำคัญของประเทศที่ต้องการจะเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยใช้งบประมาณแผ่นดินเป็นเครื่องมือหนุนนำให้เกิดการลงทุนวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน ซึ่ง พ.ร.บ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรมฯ ได้กำหนดให้ กสว. ต้องเสนอแผนด้าน ววน. และเสนอกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นและกรอบงบประมาณลงทุนด้าน ววน. ที่สอดคล้องกับแผนด้าน ววน. แต่ละฉบับ ซึ่งในส่วนนี้จะมีการเสนอผ่านสภานโยบายฯ สำนักงบประมาณ และนำเข้าเสนอต่อณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อให้แผนและกรอบงบประมาณมีทิศทางที่สอดคล้องกัน
การเสนอของบประมาณขั้นที่ 2 จะเป็นการเสนอคำของบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. พร้อมรายละเอียด โดยมีขั้นตอนดำเนินการคือ เมื่อหน่วยงานในระบบ ววน. เสนอคำของบประมาณมายัง สกสว. แล้วสกสว. จะกลั่นกรองคำของบประมาณ และเสนอขอความเห็นชอบต่อ กสว. โดยมีรัฐมนตรีให้คำแนะนำ มีคณะกรรมการพิจารณางบประมาณด้าน ววน. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนที่จะเสนอคำของบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ไปยังสำนักงบประมาณ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีซึ่งเมื่อผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปีและได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้วจากนั้นจึงตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
เมื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีแล้ว สำนักงบประมาณจะส่งข้อมูลให้กรมบัญชีกลางเพื่อจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนส่งเสริม ววน. โดยแจ้งผลการจัดสสรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) และหน่วยงานในระบบ ววน. พร้อมกับจัดทำคำรับรองการปฏิบัติการตามเงื่อนไขของการอนุมัติงบประมาณของแต่ละหน่วยงานในปีงบประมาณนั้น ๆ
ตามพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) มีหน้าที่ในการจัดทำนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) จัดทำกรอบวงเงินงบประมาณด้าน ววน. หลักเกณฑ์การจัดทำคำขอและการจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการกลั่นกรองคำของบประมาณในระบบวิจัยและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับแผนด้าน ววน. และจัดทำคำของบประมาณของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.) โดยหน่วยงานที่อาจยื่นคำของบประมาณผ่านกองทุนส่งเสริม ววน. เป็นไปตามประกาศ กสว. เรื่อง รายชื่อหน่วยงานที่อาจยื่นคำของบประมาณจากกองทุนส่งเสริม ววน. โดยมีรายละเอียดของระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ และรูปแบบการสนับสนุนงบประมาณดังนี้
โดยการสนับสนุนงบประมาณของกองทุนส่งเสริม ววน. ที่หน่วยงานสามารถเสนอของบประมาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
1. งบประมาณสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ หรือ Strategic Fund (SF) เป็นงบประมาณสำหรับแผนงานหรือโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือโครงการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อดำเนินการตามนโยบายระดับชาติ ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม ยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือประเด็นเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งประเด็นที่เกิดจากความต้องการของผู้ใช้โดยตรงซึ่งสร้างผลกระทบในวงกว้างการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ จะดำเนินการผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุน หรือ Program Management Unit (PMU) 9 หน่วยงานหลัก
2.งบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน หรือ Fundamental Fund (FF) เป็นงบประมาณสำหรับแผนงานหรือโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี หรือโครงการวิจัยและนวัตกรรมตามภารกิจของหน่วยงาน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสามารถตอบสนองแนวนโยบายของชาติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรและโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีธรรมาภิบาล
ข้อมูลการจัดสรรงบประมาณ
นับตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตาม พระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มีงบประมาณด้าน ววน. ที่ผ่านกองทุนส่งเสริม ววน. ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปีงบประมาณปัจจุบัน โดยมีรายละเอียดภาพรวมดังนี้
ภาพรวมงบประมาณกองทุน
เป้าหมายสำคัญหนึ่งของระบบ ววน. คือ การนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในมิติต่างๆ อันจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือกรสร้างผลกระทบและประโยชน์ในวงกว้าง ทั้งนี้ ข้อจำกัดในอดีตบางส่วนที่ทำให้ผลงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณค่าจำนวนมากมิได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์จากภาคส่วนต่าง ๆ อาจจำแนกได้ใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การขาดทิศทางที่มีเอกภาพ คือ นโยบายและแผนด้านการวิจัยและนวัตกรรม ดังนั้นจึงมีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันการใช้ประโยชน์ที่ไม่ชัดเจน และขาดการเชื่อมร้อยงานวิจัยและนวัตกรรมในกลุ่มเดียวกันเข้าด้วยกัน 2) การที่ผู้รับทุนหรือนักวิจัยไม่สามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายและกฎระเบียบของภาครัฐ จึงไม่มีแรงจูงใจให้นำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม และ 3) การขาดทรัพยากร และการบริหารทรัพยากร ในการลงทุนต่อยอดด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อยกระดับให้ไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงสังคมและเศรษฐกิจได้จริง
จากข้อจำกัดดังกล่าว การปฏิรูประบบ ววน. ของประเทศ ได้มีการระบุอย่างชัดเจนถึงแนวทางในการสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรมที่จะต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคการบริการของประเทศ การตอบสนองต่อการสร้างความรู้ใหม่ ยกระดับนวัตกรรม ปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริการ แก้ปัญหาเชิงเทคนิค ทดแทนการนำเข้าเทคโนโลยี หรือมีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และการสะท้อนความเป็นไปได้สูงที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเชิงสังคม
ราชกิจจานุเบกษาประกาศเผยแพร่ “พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564” หรือ Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act ที่เรียกโดยย่อว่า TRIUP Act เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ที่ผ่านมารัฐได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้รับทุนหรือนักวิจัยไม่สามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายและกฎระเบียบของภาครัฐ จึงไม่มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น เพื่อให้มีการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งการต่อยอดการวิจัยและต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม และเป็นแรงจูงใจให้มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้น
สกสว. สอวช. และหน่วยงานภาคีต่างๆ ได้ร่วมมือกันผลักดันอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่อีกก้าวที่สำคัญของการนำงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ เพราะเล็งเห็นว่าควรกำหนดให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากเงินสนับสนุนของภาครัฐได้ มีกลไกการบริหารจัดการและติดตามการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งกำหนดมาตรการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมและประโยชน์ส่วนรวม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ขึ้น
สาระสำคัญของ TRIUP Act
พ.ร.บ. ฉบับนี้ มีความสำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนระบบ ววน. โดยเฉพาะการส่งเสริมและผลักดันให้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐถูกนำไปใช้ประโยชน์หรือขยายผลต่อยอดทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อันมีสาระสำคัญความครอบคลุมประเด็นดังนี้
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จาก TRIUP Act อาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เป็นเจ้าของผลงานวิจัย หน่วยงานที่ต้องการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย และหน่วยงานให้ทุน และจัดสรรงบประมาณวิจัยจะต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ พ.ร.บ. ที่เกิดขึ้น ดังนี้
การขอเป็นเจ้าของและการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
ผู้รับทุนสามารถแจ้งความประสงค์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมมาพร้อมกับรายงานข้อค้นพบใหม่ โดยรายงานการเปิดเผยผลงานวิจัยและนวัตกรรมมีรายละเอียดและขั้นตอนดังนี้
“เทคโนโลยีที่เหมาะสม (Appropriate Technology)” หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือพื้นที่ ทั้งนี้ ซึ่งเหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนหรือพื้นที่ และมีราคาพอสมควรที่เข้าถึงได้ มีลักษณะโครงการวิจัยและนวัตกรรมดังนี้
หลักการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะต้อง 1) ดำเนินการเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนท้องถิ่นหรือพื้นที่ มิใช่เพื่อประโยชน์ทางพาณิชย์หรือประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น 2) ให้ความสำคัญกับการรับฟังข้อเสนอแนะและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนท้องถิ่นหรือประชาชนในพื้นที่ 3) คำนึงถึงผลกระทบหรือความเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นต่อวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นหรือประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผลกระทบต่อความยั่งยืนด้านทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศ และสภาพแวดล้อมในพื้นที่ และ 4) ต้องคำนึงถึงความซับซ้อน ค่าใช้จ่ายและความเป็นไปได้ในการเข้าถึงผลงานวิจัยและนวัตกรรมของชุมชนท้องถิ่นหรือประชาชนในพื้นที่
ทั้งนี้ หากมีการใช้ประโยชน์ผลงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม ผู้ที่เป็นเจ้าของผลงานสามารถยื่นหลักฐานเพื่อรับค่าตอบแทนได้ โดยมีขั้นตอนดังภาพ
การติดตามและประเมินผล (Monitoring and Evaluation : M&E) เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการสะท้อนผลสำเร็จของการพัฒนาประเทศด้วยความรู้และผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพราะจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าผลลัพธ์และผลกระทบของการลงทุนเงินงบประมาณวิจัยและนวัตกรรมของประเทศจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ได้นำมาสู่องค์ความรู้เพื่อที่จะนำไปพัฒนาประเทศตามเป้าหมายที่ได้วางไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ในอีกแง่หนึ่ง การติดตามและประเมินผล จัดเป็นการสร้างความรับผิดชอบต่อสาธารณะ (Public Accountability) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับผิดชอบต่อการใช้ภาษีอากรของประชาชน นอกจากนั้นยังเป็นกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาของผู้เกี่ยวของในระบบ ววน. ด้วย
ระบบติดตามและประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และระบบติดตามการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณที่ได้รับเงินงบประมาณจากกองทุน ววน. จัดทำขึ้นเพื่อติดตามผลลัและผลกระทบจากผลงาน ววน. ที่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเพื่อให้การลงทุนเงินงบประมาณด้าน ววน. มีความโปร่งใส และทำให้เกิดความรับผิดรับชอบ (Accountability) ในระบบต่อการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า
เป้าหมายและผสสัมฤทธิ์ในการติดตามและประเมินผลของกองทุน ววน. มี 2 มิติ คือ ผลงานในภาพรวมของกองทุน ววน. และผลการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณ โดยการติดตามและประเมินผลในทางปฏิบัติจะใช้วิธีการรายงานในระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (NRIS) ยกเว้นในส่วนของการประเมินผลกระทบจะใช้ผู้เชี่ยวชาญภายนอก โดยทำการประเมินภายใต้กรอบและแนวทางที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ กำหนดและการประเมินในส่วนของกระบวนการทำงาน จะดำเนินการโดยมีผู้ทรงคุณวุฒิที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลฯ แต่งตั้ง โดยมี สกสว. ทำหน้าที่สนับสนุนด้านวิชาการและงานเลขานุการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้หน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) และหน่วยรับงบประมาณนำข้อเสนอแนะที่ได้จากคณะผู้ทรงคุณวุฒิไปใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงาน ส่งผลให้มีความสามารถในการบริหารและจัดการทุนได้สอดคล้องกับเป้าหมายกรพัฒนาประเทศ เกิดการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ สร้างผลลัพธ์และผลกระทบในวงกว้างต่อไป