สกสว. รวมพลังหน่วยบริหารและจัดการทุนขับเคลื่อนระบบ ววน. ให้มีประสิทธิภาพ สู่การเปลี่ยนแปลงประเทศ

สกสว. สกสว. จัดกิจกรรม PMU retreat ระดมความคิดการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมของระบบ ววน. ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) มุ่งขับเคลื่อนการพัฒนา ววน. อย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ สร้างความยั่งยืนในการขับเคลื่อนประเทศด้วยระบบ ววน.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จัดการประชุม “PMU Forum Retreat ประจำปี 2566” มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน แลกเปลี่ยน และรับฟังข้อเสนอแนะหรือความคิดเห็นร่วมกันของหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU) เพื่อให้การขับเคลื่อนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ในเชิงกลยุทธ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ประธานกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กสว.) เป็นประธานเปิดการประชุม ระหว่างวันที่ 15 – 17 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม เดอะ ซายน์ พัทยา จังหวัดชลบุรี

รศ. ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สกสว. ได้กล่าวสรุปถึง ความก้าวหน้าในการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สกสว. และ PMU 9 ประเด็นหลักในช่วงที่ผ่านมา คือ 1.การทบทวนแผนด้าน ววน. การปรับการปรับ OKR 2. แนวทางการบริหารงบประมาณภายใต้คำรับรอง หลักเกณฑ์และนโยบายกองทุน 3.การใช้งานระบบ NARIIS ในประเด็นการเข้าถึงของ PMU การเปิดเผยข้อมูลในระดับต่าง ๆ 4.การพัฒนาระบบ ววน. ด้วยการพัฒนาระบบการทำงานเกี่ยวกับระบบ ววน. ให้มีพลังในการขับเคลื่อน ตอบสนองต่อความต้องการของภาพลักษณ์ และตอบโจทย์ภาคเอกชน 5.การส่งเสริมความเข้มแข็งของหน่วยงานในระบบ ววน. 6.การพัฒนาระบบการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (RU) 7.งานต่างประเทศ การประสานความร่วมมือกับนานาชาติเพื่อพัฒนาด้านการวิจัยในมิติต่าง ๆ  8.การสื่อสาร ววน. และ 9.ประเด็นอื่นๆ เช่น System Research การพัฒนาชุดข้อมูล เพื่อนำไปใช้ขยายผลในพื้นที่ให้ตอบต่อความต้องการของพื้นที่และเกิดผลกระทบได้ การรับข้อมูลจากภาคต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่ขั้นต่อไป คือ การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพสามารถสร้างผลกระทบในระดับสูงได้ ต่อไป

นอกจากนี้ ได้มีการแบ่งกลุ่มระดมความคิดเห็นออกแบบแนวปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมของระบบ ววน. (GRIP: Good Research and Innovation management Practice) โดยใช้เครื่องมือ value chain canvas ใน 3 ประเด็น คือ
1.ประเด็น Accountability และ Transparency
2.ประเด็u Alignment และ Efficiency and Effectiveness
3. ประเด็u Stakeholder engagement เพื่อพัฒนากระบวนการงานวิจัยตั้งแต่ระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ
ให้สามารถส่งผลลัพธ์ ผลกระทบต่อประเทศได้อย่างคุ้มค่าต่องบประมาณที่ได้ลงทุนไป และสามารถนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

“ขณะที่ แนวทางการดำเนินงานต่อที่เป็นคีย์สำคัญ และเป็นบทบาทสำคัญของ PMU ขณะที่ บทบาทสำคัญของ PMU คือ การสร้างคน พัฒนานักวิจัย การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และการสร้างโจทย์วิจัย เพื่อไปสู่การสร้างผลกระทบต่อประเทศได้ สำหรับการไปสู่ ONE ววน. นั้น ต้องมีเป้าหมายร่วม ออกแบบร่วม กลไกร่วม (ร่วมคิด แยกทำ ร่วมหารือ ร่วมติดตามผล) ข้อมูลร่วม สื่อสารร่วม ตัวชี้วัดร่วม และรับผิดรับชอบร่วมกัน” ผอ.สกสว. กล่าวสรุป

Loading